ภาพจาก wikipedia
ทำความรู้จักหมูน้ำ
อีกหนึ่งสัตว์หน้าตาแปลกจากโลกใต้ทะเล ถึงแม้จะชื่อเป็นหมู แต่ไม่เกี่ยวข้องกับสายพันธุ์หมูเลยนะ
มันคือตัวอะไรกันแน่อยากรู้ลองไปติดตามกันเลย
หมูน้ำหรือหมูทะเล (Sea Pig) ด้วย ลักษณะภายนอกของมันที่มองดูแล้วคล้ายกับหมู ไม่ว่าจะเป็นตัวที่อ้วนกลมจ้ำม่ำ ผิวสีชมพูอ่อน และปากก็มีส่วนคล้ายกับจมูกของหมู มันจึงถูกตั้งชื่อให้เป็นหมู แต่ถึงแม้ว่ามันจะมีชื่อว่าหมูเช่นนี้ มันก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์เดียวกับหมูแต่อย่างใด เพราะจริง ๆ แล้วมันคือสัตว์ทะเลที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปลิงทะเลน้ำลึก (sea cucumber) ซึ่งอยู่ในไฟลัมเดียวกับปลาดาว และหอยเม่น หรือหากจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เจ้าปลิงทะเลตัวอ้วนนั่นเอง
หมูน้ำหรือหมูทะเล (Sea Pig) ด้วย ลักษณะภายนอกของมันที่มองดูแล้วคล้ายกับหมู ไม่ว่าจะเป็นตัวที่อ้วนกลมจ้ำม่ำ ผิวสีชมพูอ่อน และปากก็มีส่วนคล้ายกับจมูกของหมู มันจึงถูกตั้งชื่อให้เป็นหมู แต่ถึงแม้ว่ามันจะมีชื่อว่าหมูเช่นนี้ มันก็ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับสายพันธุ์เดียวกับหมูแต่อย่างใด เพราะจริง ๆ แล้วมันคือสัตว์ทะเลที่อยู่ในตระกูลเดียวกับปลิงทะเลน้ำลึก (sea cucumber) ซึ่งอยู่ในไฟลัมเดียวกับปลาดาว และหอยเม่น หรือหากจะเรียกให้เข้าใจง่าย ๆ ก็คือ เจ้าปลิงทะเลตัวอ้วนนั่นเอง
ภาพจาก bogleech
หมูน้ำ มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Scotoplanes นอกจากความน่ารักของมันแล้ว หมูน้ำยังเป็นสัตว์ที่มีบทบาทสำคัญต่อระบบนิเวศใต้ท้องทะเลอีกด้วย แต่น่าเสียดายที่โดยทั่วไปแล้วจะไม่สามารถพบเห็นได้ง่าย ๆ เนื่องจากมันอาศัยอยู่ใต้ทะเลลึกกว่า 1,000 เมตร ในส่วนที่ลึกและเย็นที่สุดของบริเวณที่ราบก้นสมุทร แถบมหาสมุทรแอตแลนติก แปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย และถึงมันจะใช้ชื่อว่าหมูน้ำหรือหมูทะเล ก็ไม่ได้หมายความว่าตัวมันจะอ้วนตลอดเวลา เพราะในช่วงที่มันไม่พองตัว ตัวมันก็จะเรียวลักษณะคล้ายปลิงทั่ว ๆ ไปนี่แหละ
ภาพจาก echinoblog.blogspot.com
หมูน้ำจะมีอวัยวะสำคัญของสัตว์ในตระกูลนี้
ที่เรียกว่า ทิวบ์ฟีต (Tube feet) หรือเท้าที่มีลักษณะเป็นหลอดยืดยาวออกมา
จะใช้หดหรือยืดก็ได้ เพื่อทำหน้าที่ในการคลานเคลื่อนที่
โดยหมูน้ำแต่ละตัวจะมีทิวบ์ฟีตประมาณ 5-7 คู่
ความยาวเฉลี่ยแล้วประมาณ 15 เซนติเมตร นอกจากนี้ที่ตรงส่วนหัวของมันก็ยังมีทิวบ์ฟีตด้วยเช่นกัน
แต่ลักษณะของมันจะคล้ายกับหนวด และมีคุณสมบัติพิเศษที่เพิ่มเข้ามาด้วยคือ ใช้เป็นเซ็นเซอร์ในการดมกลิ่นเพื่อหาแหล่งอาหารในก้นทะเลที่ไม่มีแสงสาดส่อง
ส่วนอาหารของมันจะเป็นพวกเศษซากพืช ซากสิ่งมีชีวิตเล็ก ๆ ที่ปะปนอยู่ในโคลนใต้ทะเล
โดยที่ปากของมันจะมีงวงหรือหนวดเล็ก ๆ เพื่อใช้กรองและจับอาหารให้ขึ้นมาจากโคลนเหล่านั้น
ภาพจาก sciencewows
นักวิทยาศาสตร์รู้จักหมูน้ำ
มานานกว่า 100
ปีแล้ว โดยนักสัตววิทยาชาวสวีเดนเป็นผู้ค้นพบครั้งแรกเมื่อปี
1882 จากข้อมูลการสำรวจพบว่า หมูน้ำเป็นแหล่งที่อยู่ของพวกปรสิตแปลก
ๆ รวมไปถึงหอยทากตัวเล็ก และพวกครัสเตเชียนหรือกุ้งตัวเล็ก ๆ ที่จะมาชอนไชเจาะรูที่ตัวมัน
และคอยกัดกินพวกมันจากภายใน แต่สำหรับพวกปลานักล่าแล้ว
หมูน้ำจะเป็นสัตว์ที่มีคุณสมบัติพิเศษคือ พวกมันมีสารเคมีชนิดหนึ่งที่เป็นพิษอยู่บริเวณใต้ผิวหนังของมัน
ซึ่งหากนักล่าจำพวกปลาเขมือบกินมันเข้าไปก็จะได้รสชาติที่ขมเฝื่อน ๆ ด้วยลักษณะจำเพาะข้อนี้เอง
ทำให้พวกมันมักจะตกเป็นเหยื่อจากการถูกล่าจากปลาน้อย เมื่อเทียบกับสัตว์สายพันธุ์อื่น
ๆ ในตระกูลเดียวกัน
ภาพจาก bogleech
นอกจากนี้
หมูน้ำมักจะตกเป็นเหยื่อจากการถูกล่าโดยมนุษย์ โดยส่วนใหญ่แล้วมันจะติดขึ้นมากับอวนของชาวประมง
เนื่องจากมันเป็นสัตว์ที่ค่อนข้างเคลื่อนตัวได้ช้า อีกทั้งยังมีแนวโน้มว่าชอบอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูงจำนวนมาก
และยังชอบอาศัยอยู่บริเวณเดิม ๆ ไม่เปลี่ยนแปลง ซึ่งคาดว่าอาจเพราะเป็นแหล่งหาอาหารที่สมบูรณ์ที่สุดของมันก็เป็นได้
จากรายงานพบว่า การลากอวนครั้งหนึ่งสามารถจับหมูน้ำได้ถึง 300 ตัวเลยทีเดียว และยังมีการพบว่ามันถูกจับนำไปทำเป็นอาหารราคาแพงในประเทศญี่ปุ่นอีกด้วย
ภาพจาก echinoblog.blogspot.com
ภาพจาก eol.org
ข้อมูลจาก
jobsnhire, ourbreathingplanet, wired
http://pet.kapook.com/view147148.html